Henri Fayol
หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
• มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี ค.ศ. 1841-1926 เป็นชาวฝรั่งเศส
นักเศรษฐศาสตร์และนักทฤษฎีทุนนิยมเสรีแนวใหม่ (neoclassical
economic)
• ค.ศ. 1860 เมื่อเขาจบการศึกษาอายุได้ 19 ปี เขาได้เข้าทำงานที่บริษัทเหมืองแร่ชื่อ Compagnie
de Commentry-Fourchambeau-Decazeville
• ได้ไต่เต้าสู่ตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้อำนวยการในช่วงปี ค.ศ. 1888-1918
• เขาได้เขียนหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1916 ชื่อ Administration industrielle et
générale หรือ
หลักการบริหารอุตสาหกรรม
หลักการบริหาร 14 ข้อ
1.
การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา
(Unity
of Command)
2.
การมีเอกภาพในการสั่งการ
(Unity
of Direction)
3.
การแบ่งงานกันทำ
(Division
of Work)
4.
การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง
(Centralization)
5.
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
(Authority
and Responsibility)
6.
ความเสมอภาค (Equity)
7.
สายการบังคับบัญชา
(Scalar
Chain)
8.
การให้ผลประโยชน์ตอบแทน
(Remuneration)
9.
การมีระเบียบข้อบังคับ
(Order)
10. ความมีระเบียบวินัย (Discipline)
11. ความคิดริเริ่ม (Initiative)
12. ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม (Sulxordination
of Individual Interest to the General Personnel)
13. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of
Lenore of Personnel)
14. ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit
de Crope)
เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
เฮนรี่ ฟาโยล (Henri
Fayol) ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า
หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมากๆ
ในการทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น
มีองค์ประกอบด้วยกัน
5 ปัจจัย เรียกว่า POCCC มีดังนี้
§ การวางแผน (Planning)
§ การจัดองค์การ (Organizing)
§ การบังคับบัญชาหรือการสั่งการ (Commanding)
§ การประสานงาน (Coordinating)
§ การควบคุม (Controlling)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
จากหลักการด้านการจัดการของ
Fayol
นั้น เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดการในองค์การเป็นอย่างมาก
Fayol
ได้กล่าวว่า
หลักการของเขาไม่ใช่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ
หลักการของ Fayol มีลักษณะเป็นสากลซึ่งต่อมาได้มีการอธิบายขยายความต่อโดย
Sheldon,
Urwick และ Barnard
กระบวนการทางการจัดการ
ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ
ข้อดี
- องค์การมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากที่มีการปรับปรุงกระบวนการบริหาร
- สามารถพัฒนาผลผลิตของคนงานให้ดีขึ้นได้
-
สามารถนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย
- มุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานในระดับผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่
ใช้อย่างไร
ทฤษฎีการบริหารของ
Fayol
ยอมรับองค์กรที่เป็นทางการ
โดยใช้ประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Specialization)
และเน้นถึงความสำคัญที่ว่าอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบต้องเท่ากัน
โดย Fayol
ระบุเป้าหมายที่สำคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ
ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และความสามัคคี นักทฤษฎีการบริหารจะต้องเป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนักทฤษฎีระบบองค์การขนาดใหญ่แล้ว
สิ่งที่พวกเขาสนใจและให้ความสำคัญ คือ
หลักการและแนวคิดสำหรับการประสบความสำเร็จขององค์การซึ่งเป็นทางการ
นักทฤษฎีระบบองค์การขนาดใหญ่จะกล่าวถึงลักษณะที่ควรจะเป็น ส่วนนักทฤษฎีการบริหารจะมองในลักษณะที่ว่า
จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จได้อย่างไร กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับการบริหาร
ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญขององค์การ
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร?
หลักการบริหารจัดการนั้น
สามารถนำไปใช้ได้เป็นการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานบริหาร จัดการของเอกชน หรือของรัฐ
เทคนิคการทำงาน -> คนงานธรรมดา
ความสามารถทางด้านบริหาร -> ระดับผู้บริหาร
ผู้บริหารจะต้องมีคุณลักษณะพร้อมความสามารถทางร่างกาย
จิตใจ ไหวพริบ การศึกษาหาความรู้ เทคนิคในการทำงาน และประสบการณ์ต่าง ๆ Fayol
แยกแยะให้เห็นว่าคุณสมบัติทางด้าน เทคนิควิธีการทำงาน นั้น
สำคัญที่สุดในระดับคนงานธรรมดา
แต่สำหรับระดับสูงขึ้นไปกว่านั้นความสามารถทางด้านบริหาร จะเพิ่มความสำคัญตามลำดับ
และมีความสำคัญมากที่สุดในระดับผู้บริหารขั้นสุดยอด(Top
executive) ควรจะได้มีการอบรม
(training)
ความรู้ทางด้านบริหารควบคู่กันไปกับความรู้ทางด้านเทคนิคในการทำงาน
กรณีศึกษา
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารระดับต้นและพนักงานระดับปฏิบัติการที่มีต่อการจัดการตามหลักการจัดการของ
Henri
Fayolกรณีศึกษา
บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยี [ประเทศไทย] จำกัด
Title Alternative : The opinion
of primary management level and operator level in management theory of Henri
Fayol a case study of Hitachi Global Storage Technologies [Thailand] Limited.
Creator : Name: โสภา นาคสะโร Subject
: ThaSH: การจัดการ –
วิจัย Classification
:.DDC: 658.4032
เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
เฮนรี่ ฟาโยล (Henri
Fayol) ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า
หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมากๆ
ในการทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น
มีองค์ประกอบด้วยกัน
5 ปัจจัย เรียกว่า POCCC มีดังนี้
การวางแผน (Planning)
การวางแผน (Planning)
การจัดองค์การ (Organizing)
การบังคับบัญชาหรือการสั่งการ (Commanding)
การประสานงาน (Coordinating)
การควบคุม (Controlling)
การประสานงาน (Coordinating)
การควบคุม (Controlling)