วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

George Elton Mayo

                  



Elton Mayo  
บิดาการบริหารงานแบบมนุษย์สัมพันธ์


                                             


หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
Elton Mayo เป็นนักสังคมวิทยาทำงานอยู่ฝ่ายการวิจัยอุตสาหกรรมของฮาร์วาร์ด (The Department of Industrial Research at Harvard) เขาได้ชื่อว่าเป็น บิดาของการจัดการแบบมนุษยสัมพันธ์ หรือ การจัดการแบบเน้นพฤติกรรมศาสตร์เขาและเพื่อนร่วมคณะวิจัย ได้แก่ John Dewey, Kurt Lewin, F.J. Roethlisber และ W.J. Dickson ได้ทำการศึกษาทัศนคติและปฏิกิริยาทางจิตวิทยาของคนงานการทำงานตามสถานการณ์ที่ต่างกันตามที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นที่ Western Electric’s Hawthorne Plant (1927 - 1932) ในการทดลองของเขาและคณะได้แบ่งการทดลองเป็นระยะต่อเนื่องกัน
เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
Hawthorne Studies เป็นการทดลองวิจัยในโรงงาน Western Electric Company ในปี ค.ศ. 1927-1932 โดยทีมงาน Hawthorne ภาย ใต้การนำของ Mayo ประกอบด้วยการวิจัยทดลอง 3 เรื่องใหญ่ :
ศึกษาสภาพห้องทำงาน (Room Studies),การสัมภาษณ์ (Interview Studies) และ การสังเกตการณ์ (Observation Studies) ·   
สรุปผลการศึกษา Hawthorne
§  ปัจจัยด้านปทัสถานทางสังคม เป็นตัวกำหนดปริมาณผลผลิตไม่ใช้ปัจจัยด้านกายภาพ
§  ความคิดที่ว่าคนเห็นแก่ตัว ต้องการเงินค่าตอบแทนมากๆเป็นการมองแคบๆ
§  พฤติกรรมของคนงานถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม
สนับสนุนให้มีการทำวิจัยด้านผู้นำต่างๆ ผู้นำต้องเปิดโอกาสให้คน ในองค์การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
แนวความคิดทฤษฎีความสัมพันธ์ของ  Elton  Mayo สาระสำคัญ
1.แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่
1.1) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1.2)ทฤษฎีสามมิติของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1.3) การสนับสนุนจากสังคม
2.ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่
2.1) รู้จักและไว้วางใจผู้อื่น
2.2) รู้จักการติดต่อบุคคลอย่างตรงไปตรงมา
2.3) การยอมรับและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.4) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
3.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ได้แก่
3.1) การทำงานมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
3.2) ให้อิสระในการคิดแกไขปัญหาแก่ผู้ร่วมงาน
3.3) ให้ผู้ร่วมงานเกิดศรัทธา
3.4) ให้รู้จุดมุ่งหมายของงาน
3.5) ความสำเร็จของงานเป็นของทุกคน
3.6) สร้างความสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมงานเกิดความรักผูกพัน
3.7) มอบหมายงานที่เขาพอใจสนใจและอยากทำ
3.8) ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
3.9.ให้ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
3.10) การทำงานควรมีการประชุมปรึกษาหารือกัน
3.11) ให้เขามีความรู้สึกรับผิดชอบและรักษาผลประโยชน์
3.12) ส่งเสริมให้พนักงานมีความก้าวหน้า
4.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ได้แก่
4.1) เมื่อเพื่อนพูดให้รับฟังอย่างเต็มใจ
4.2)ให้ความเป็นกันเองและเป็นมิตร
4.3) ยกย่องชมเชยเพื่อนร่วมงานด้วยความจริงใจ
4.4) อย่าแสดงว่าตนเหนือกว่าเพื่อนร่วมงาน
4.5) มีความจริงใจเสมอต้นเสมอปลาย
4.6) ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีทุกข์ร้อน
4.7) มีโอกาสในการพบประสังสรรค์นอกเวลาทำงาน
4.8.ยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นมิตรกับเพื่อนร่วมงาน
4.9) ไม่โยนความผิดหรือซัดทอดความผิดให้กับเพื่อนร่วมงาน
4.10) ใจกว้างและยอมรับความสามารถของเพื่อนร่วมงาน
5.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามหลักพุทธรรม 3 หมวด ได้แก่
5.1) ฆราวาสธรรม 4    สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
5.2) สังคหวัตถุ 4 ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมนัตตา
5.3.พรหมวิหาร 4 เมตตา  กรุณา มุทิตา อุเบกขา
6.การสร้างทีม ได้แก่
6.1) มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก
6.2) สมาชิกเข้าใจบทบาทของตน
6.3) สมาชิกเข้าใจในกติกา กฎระเบียบ
6.4) การติดต่อสื่อสารที่ดี
6.5) มีการสนับสนุนระหว่างสมาชิก
6.6) สมาชิกเข้าใจกระบวนการทำงาน
6.7) สมาชิกมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
6.8) มีความร่วมมือในการทำงาน
6.9) มีการเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถ
6.10) มีความรู้สึกพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
7.บทบาทของสมาชิกในทีม ได้แก่
7.1) บทบาทของแต่ละคนในทีม
7.2) พฤติกรรมในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
7.3) บทบาทของพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
8.ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
8.1) ความจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบและผูกพัน
8.2) ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะ
8.3) ความจำเป็นต้องพัฒนาความเข้าใจ
8.4) มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับทีมงาน
9.การสร้างความสัมพันธ์ในทีมงาน ได้แก่
9.1) ให้เกิดความรับผิดชอบในทีม
9.2) ให้เกิดความร่วมมือในการทำงานและปทัสถานสังคม
9.3) ให้เกิดความเข้าใจในการเผยแพร่ข่าวสาร
9.4) ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
9.5) มีการแข่งกันในการบริหาร
9.6) ไม่มีการแบ่งแยกศาสนา
9.7) ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ
10.แรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่
10.1) แรงจูงใจในการทำงานและบริหารงานบุคคล
10.2) ปัจจัยของแรงจูงใจในการทำงาน

10.3) แรงจูงใจกับความต้องการของบุคคล 10.4 ทฤษฎีแรงจูงใจต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้

Abraham Maslow



Abraham  Maslow 

 


* หลักการแนวคิด/ประวัติและความเป็นมา
ประวัติของอับราฮัม  มาสโลว์   (Abraham  Maslow. 1908-1970)  มาสโลว์ เกิดเมื่อวันที่  1 เมษายน  ค.ศ.  1908  ที่เมืองบรุคลิน  (Brooklyn)  ในรัฐนิวยอร์ก  (New  York)  เขาได้รับปริญญาในปี  ค.ศ.  1930  ปริญญาโทปี  ค.ศ. 1931  และปริญญาเอกในปี  ค.ศ. 1934  จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน  (Wisconsin  University)  ทางสาขาจิตวิทยา
* แนวความคิดของมาสโลว์
 มาสโลว์มองว่า  มนุษย์แต่ละคนทีศักยภาพพอสำหรับที่จะชี้นำตัวเอง  มนุษย์ไม่อยู่นิ่งแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ  ที่แวดล้อมและแสวงหาความต้องการที่จะเข้าใจตนเอง  ยอมรับตนเองทั้งในส่วนดีส่วนบกพร่อง  รู้จักจุดอ่อน  และความสามารถของตนเอง  เขาได้อธิบายว่า  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่จะสนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น  และความต้องการของมนุษย์มีมากมายหลายอย่างด้วยกัน  ซึ่งต้องได้รับความพึงพอใจจากความต้องการพื้นฐานหรือต่ำสุดเสียก่อนจึงจะผ่านขึ้นไปยังความต้องการขั้นสูงตามลำดับ
*เครื่องมือนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
             1. ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน เป็นต้น
             2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (security or safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้ว มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน
             3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (belongingness and love needs) ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
             4. ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือ และสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับความเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
             5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self-actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น
*เครื่องมือนี้ใช้เพื่อ
มีการนำลำดับขั้นของมาสโลว์มาใช้ในการเรียนการสอนเรื่องการตลาด เพื่อช่วยในการเข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า นักการตลาดจะวิเคราะห์ประวัติความต้องการของลูกค้าเพื่อหาวิธีดำเนินการทางการตลาด ถ้าผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามักจะเลือกผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างมากกว่าผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันจากคู่แข่งธุรกิจระหว่างประเทศ

ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ
-ข้อดี
เข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า นักการตลาดจะวิเคราะห์ประวัติความต้องการของลูกค้า
รู้วิธีดำเนินการทางการตลาด เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้
-ข้อเสีย
1.         มุมมองนี้เป็นมุมมองถูกจัดว่าเป็นมุมมองแบบปัจเจกนิยมซึ่งเน้นตนเองมากกว่าสังคมแบบคติรวมหมู่ โดยในสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม ความต้องการการยอมรับและกลุ่มสังคมจะมีความสำคัญเหนือกว่าความต้องการอิสรภาพและความเป็นตัวของตัวเอง กล่าวคือลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ไม่สามารถใช้กับทุกคนได้

2.         ปัจจุบันความต้องการของลูกค้าไม่ได้เป็นไปตามลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์


ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
นิพนธ์ ทวีคูณ 2553 วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ม.บูรพา
จากแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พอสรุปได้ว่า ความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์
ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐาน และจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ทุกคน ความต้องการจึงเป็นสิ่งที่ถูก
สร้างขึ้น ใช้เป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำเพื่อตอบสนองความต้องการ ที่พักอาศัยเป็น
ปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ที่ใช้สำหรับ การกินอยู่ หลับนอน เป็นที่สำหรับคุ้มครองปกป้องร่างกาย
มนุษย์ให้รอดพ้นจากอันตราย เพื่อให้การดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติสุข จากความสำคัญของที่พัก
อาศัยนี้ องค์กรต่าง ๆ ในสังคมจึงให้ความสำคัญในการจัดที่พักอาศัยให้พนักงานหรือบุคคลากร
ของตนในรูปของสวัสดิการ
สวัสดิการด้านที่พักอาศัยจึงเป็นสิ่งที่องค์กรจัดให้กับพนักงานเพื่อตอบสนองความ
ต้องการของบุคคล อำนวยความสะดวก เสริมสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย
มั่นคง พึงพอใจ และเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การจัดสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเหมาะสม จะ
ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมกำลังใจ บำรุงขวัญ สร้างศัทธรา ซึ่งบริษัท จง

สถิตย์ จำกัด ก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญในด้านดังกล่าวเช่นกัน
                                   

Maslow’s hierarchy of human needs


มีใครนำเรื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร ?
นิพนธ์ ทวีคูณ 2553 วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ม.บูรพา
จากแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พอสรุปได้ว่า ความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์
ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐาน และจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ทุกคน ความต้องการจึงเป็นสิ่งที่ถูก
สร้างขึ้น ใช้เป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำเพื่อตอบสนองความต้องการ ที่พักอาศัยเป็น
ปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ที่ใช้สำหรับ การกินอยู่ หลับนอน เป็นที่สำหรับคุ้มครองปกป้องร่างกาย
มนุษย์ให้รอดพ้นจากอันตราย เพื่อให้การดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติสุข จากความสำคัญของที่พัก
อาศัยนี้ องค์กรต่าง ๆ ในสังคมจึงให้ความสำคัญในการจัดที่พักอาศัยให้พนักงานหรือบุคคลากร
ของตนในรูปของสวัสดิการ
สวัสดิการด้านที่พักอาศัยจึงเป็นสิ่งที่องค์กรจัดให้กับพนักงานเพื่อตอบสนองความ
ต้องการของบุคคล อำนวยความสะดวก เสริมสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย
มั่นคง พึงพอใจ และเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การจัดสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเหมาะสม จะ
ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมกำลังใจ บำรุงขวัญ สร้างศัทธรา ซึ่งบริษัท จง

สถิตย์ จำกัด ก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญในด้านดังกล่าวเช่นกัน